โรคข้อเสื่อม Osteoarthritis | PG&P THAI

19-12-2012 23:09:36
(0) ที่ชื่นชอบ
   
(4483) เปิดดู

โรคข้อเสื่อม Osteoarthritis

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อมหมาย ถึงโรคของข้อที่เกิดกับกระดูกอ่อน cartilage และเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อจำนวนมาก โดยมากจะเกิดบริเวณข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกหลัง

ปกติข้อของคน จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ปลายกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อราบรื่น กระดูกอ่อนสามารถรับแรงกระแทกจากกระดูก ผู้ที่เกิดกระดูกเสื่อม จะมีกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อสึกและบางลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูก เมื่อเวลาเคลื่อนไหว จะเกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการงอกของหินปูนเข้าไปในข้อ และมีเศษกระดูกลอยในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก

 

ท่านจะทราบไดอย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม

oa
ตำแหน่งที่เกิดข้อเสื่อมตำแหน่งที่ข้อเสื่อมพบบ่อย
as

เนื่องจาก โรคนี้จะค่อยๆเป็น และเป็นได้ทุกข้อ อาการ เริ่มด้วยอาการปวดโดยมากมักจะปวดตอนเช้าออกกำลังแล้วหาย หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลงเวลาขยับข้อจะเกิดเสียงกระดูดเสียดสี หลังจากนั้นข้อจะโตขึ้นเนื่องจากมีการสร้างกระดูกอ่อน เอ็น และเนื้อเยื่อเพิ่ม กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเดินจะทำให้ปวดมากขึ้นข้อที่เป็นได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลัง จากรูปจะพบว่าข้อนิ้วผิดรูป และข้อบวม อาการตามข้อต่างๆ

  • ข้อมือ โดยเฉพาะข้อนิ้วเป็นข้อปลายนิ้วทำให้เกิดตุ่มที่เรียกว่าHeberden nodes มักจะมีประวัติในครอบครัว เป็นมากในผู้หญิง นิ้วที่เป็นจะใหญ่
  • ข้อเข่า
  • ข้อสะโพก
  • กระดูกสันหลัง

สาเหตุของข้อเสื่อม

  • อายุ พบมากในคนสูงอายุแต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
  • อ้วน
  • ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน
  • กรรมพันธุ์
  • อายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง อายุมากกว่า 45 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการของข้อเสื่อม

  • ปวดข้อมักจะปวดข้อตลอดวันหรือปวดมากเวลาใช้งานเวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน
  • ข้อติดขณะพัก มักจะเป็นไม่นานพอขยับนิ้วสักพักจะดีขึ้น แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรคrheumatoid
  • ข้อจะบวม มักจะเป็นกระดูกที่โตขึ้น

สัญญาณเตือนว่าจะเป็นโรคเข่าเสื่อม

  • มีอาการปวดข้ออยู่ตลอดเวลา
  • ข้อจะยึดหรือข้อติดหลังจากตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • ข้อบวมหรือกดเจ็บ
  • รู้สึกเหมือนกระดูกกระทบกัน
  • ข้อเสื่อมมักจะไม่มีแดง หรือร้อน

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการx-ray

โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

ข้อ เข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่าน การใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็น อย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้

โครงสร้างของข้อเข่า

ข้อเข่าของคนประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ

  1. กระดูกต้นขา Femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า
  3. กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า

ผิว ของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน cartilage รูปครึ่งวงกลมหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยง synovial fluid เปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เป็นการป้องกันการสึกของข่อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใดข้อต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง

โรคข้อเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อ เข่าเสื่อมหมายถึงการที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อม สภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่า

เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของจ้อเข่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน บางท่านไม่เดินทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบและไม่มีกำลัง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเท้าจะเหยียดไม่สุด

เมื่อข้อเข่าเสื่อมมาก ขึ้น กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาเรียกว่า osteophyte เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อจะเกิดการเสียดสีในข้อ



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เขียนข้อคิดเห็น:

ชื่อ :

Email :

ข้อคิดเห็น :

รหัสป้องกันสแปม :


เพิ่มข้อคิดเห็น