เกษตรฯ ยันผัก-ผลไม้ ผ่านตามเกณฑ์ค่าสารตกค้างสูงสุด Codex | PG&P THAI

19-12-2012 23:07:59
(0) ที่ชื่นชอบ
   
(2951) เปิดดู

กรมวิชาการเกษตรยันกำหนดค่าสาร ตกค้างสูงสุดในพืชผัก - ผลไม้ไทย ยึดตามหลักเกณฑ์ในระดับปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แจงขึ้นทะเบียนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตาม FAO

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า กรมวิชาการเกษตรสำรวจพบสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ไทยมากกว่ามาตรฐานยุโรป (EU) 5 เท่า ว่ากรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจการติดตาม และสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าข้าว อ้อย และกาแฟมาตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้างปนเปื้อน และไม่เคยให้ข้อมูลการตรวจติดตามสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้แก่หน่วยงาน ภายนอกด้วย

สำหรับการขึ้นทะเบียนสารเมโืทมิล (Methomyl) นั้น กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์ขององค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ (FAO guideline for the registration and control of pesticide ปี 1985) ร่วมถึงแนวปฏิบัติที่ FAO ประกาศเพิ่มเติมด้วย

ส่วนการกำหนดค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRL) ในผักและผลไม้ กรมวิชาการเกษตรยึดตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือโคเด็กซ์ (Codex) ซึ่งการกำหนดค่า MRL ของไทย ต้องนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่างมาตรฐานสารพิษตกค้าง ภายใต้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ ร่วมพิจารณา

โดยการกำหนดค่า MRL ในพืชผักและผลไม้แต่ละชนิดอาศัพข้อมูลการทดลองใช้สารเคมีที่แปลงปลูกพืช ข้อมูลการบริโภค ข้อมูลพิษวิทยาและจากข้อมูลพื้นฐานในแต่ละท้องถิ่นซึ่งถูกนำมาใช้พิจารณาแตก ต่างกัน ทำให้การกำหนดค่า MRL ของ EU กับของไทยมีความแตกต่างกัน

นางสาวเสริมสุข กล่าวอีกว่า EU ได้กำหนดค่า MRL ของสารเมโทมิลในข้าว ผักกาด และคะน้าไว้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สินค้ากาแฟไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อ้อยไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และผักชีกำหนดไว้ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนไทยไม่ได้ระบุค่า MRL ของเมโทมิลในถั่วฝักยาวไว้เกิน 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณที่ไทยกำหนดไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม สำหรับพืชตระกูลแตง EU กำหนดค่า MRL ของเมโทมิลไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนไทยกำหนดไว้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

"กรณีที่ไทยกำหนดค่า MRL ของสารเมโทมิลในถั่วฝักยาวไว้ในระดับสูง เนื่องจากมีการทดสอบในแปลงปลูกแล้ว ทั้งยังมีการพิจารณาค่าสารเคมีที่อยู่ในอาหาร (ADI) ประกอบด้วย ดังนั้นแม้จะบริโภคเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ยังไม่พบผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสูขภาพและอยู่ในระดับปลอดภัย" นางสาวเสริมสุขกล่าว

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เขียนข้อคิดเห็น:

ชื่อ :

Email :

ข้อคิดเห็น :

รหัสป้องกันสแปม :


เพิ่มข้อคิดเห็น