วิธีสยบอารมณ์ร้อนๆ ของลูกน้อย | PG&P THAI

19-04-2013 12:29:22
(0) ที่ชื่นชอบ
   
(3074) เปิดดู

วิธีสยบอารมณ์ร้อนๆ ของลูกน้อย | PG&P THAI

เด็กๆ ที่ไม่มีความสามารถในการควบคุมตัวเอง เมื่อโตขึ้นก็มักจะเลือกทางเดินที่เป็นการทำร้ายตัวเอง เช่น ยาเสพติด หรือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ หัวหน้าแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ สัมภาษณ์ว่า “ในสังคมที่มีสิ่งยั่วยุต่างๆ อยู่รอบตัว การควบคุมตัวเอง หรือ Self — Control ไม่ให้หลงใหลไปกับแสงสีเหล่านั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำทางลูกน้อยไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เด็กๆ ที่ไม่มีความสามารถในการควบคุมตัวเอง เมื่อโตขึ้นก็มักจะเลือกทางเดินที่เป็นการทำร้ายตัวเอง เช่น ยาเสพติด หรือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร"

ดัง นั้น การสอนให้หนูน้อยรู้จักควบคุมตัวเองตั้งแต่เล็กๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะสิ่งนี้จะเป็นทักษะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตของลูกรัก

เมื่อพูดถึงการควบคุมอารมณ์ พญ.รัตโนทัย กล่าวว่า อารมณ์ เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งการควบคุมอารมณ์นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น เด็กอายุ 2 ปี อยากได้ตุ๊กตา แต่ไม่ได้สมหวัง จึงร้องแล้วดิ้นกับพื้น วิธีการที่ควรทำคือ หัดให้เด็กควบคุมตนเอง ด้วยการอุ้มเด็กเข้ามุมสงบ ให้สงบอารมณ์ สัก 1-2 นาที แล้วค่อยมาพูดคุยกันเมื่ออารมณ์ดีแล้ว

ถ้า เป็นเด็กวัย 3-5 ปีซึ่ง เป็นวัยที่เริ่มจะเล่นสนุกกับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน หรือเป็นการเล่นระหว่างพี่น้อง แน่นอนว่าจะต้องมีการทะเลาะ แย่งของเล่น ถ้าเด็กโกรธน้องเมื่อน้องแย่งของเล่น แล้วเอะอะโวยวาย หรือ ตีน้อง สิ่งที่ต้องจัดการคือการแยกเด็กออกมาเข้ามุมสงบ และบอกเด็กรู้ว่าตอนนี้หนูกำลังโกรธ หนูหงุดหงิด หนูต้องพยายามสงบตัวเอง ถ้าทำได้เร็วก็จะได้ออกจากมุมสงบนี้เร็ว ถ้าทำช้าก็ต้องอยู่ตรงนี้นานขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะเป็นแนวทางที่ดีในการฝึกการควบคุมอารมณ์ให้กับเด็ก และเมื่อลูกน้อยได้รับคำแนะนำที่ถูกวิธี เขาก็จะปฏิบัติตัวได้ดีขึ้นในที่สุด

ที่ สำคัญเมื่อลูกแสดงความสามารถในการควบคุมตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะชื่นชมกับสิ่งที่เขาทำ เพื่อเป็นแรงเสริมในแง่บวก ให้ลูกเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง

เมื่อ ลูกโตขึ้นมาคุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนลูกให้รู้จักพูดถึงปัญหาและหาทางแก้ปัญหา ด้วยการปรึกษาหารือ ใช้คำพูดแทนความรุนแรง โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย เปิดประเด็นให้ลูกได้พูดถึงปัญหา และหลังจากนั้นก็ถามว่า ลูกมีวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร ซึ่งเด็กอาจมีแนวทางแก้ปัญหาที่น่าทึ่งให้กับคุณพ่อคุณแม่ประหลาดใจก็เป็น ได้

นอกจาก นี้ คุณพ่อคุณแม่อาจฝึกให้ลูกวัยอนุบาลให้หัดรับผิดชอบหน้าที่เล็กๆ น้อยๆ ภายในบ้าน เช่น เก็บผ้าใส่ตะกร้า หรือช่วยตั้งโต๊ะอาหาร เพราะมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กๆ ที่ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบหน้าที่เล็กๆ น้อยๆ ภายในบ้าน ตั้งแต่อายุ 4 ปี จะประสบความสำเร็จในชีวิตเร็วกว่า หนูน้อยที่ไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรเลย

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เขียนข้อคิดเห็น:

ชื่อ :

Email :

ข้อคิดเห็น :

รหัสป้องกันสแปม :


เพิ่มข้อคิดเห็น