หมวดสินค้า
Banner

ความดันโลหิต

ความดันโลหิต (อังกฤษ: blood pressure) คือ แรงดันเลือด ที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

1. หัวใจ ห้องล่างขวา โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดดำไปปอด เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงที่ จะไปปอด pulmonary arteries เพื่อไปรับออกซิเจน เมื่อเลือดได้รับออกซิเจนแล้ว ก็จะเปลื่ยนจากเลือดดำ เป็นเลือดแดง ไหลกลับมายังหัวใจด้านซ้าย ทางเส้นเลือดดำจากปอดสู่หัวใจห้องบนซ้าย pulmonary veins

เมื่อวัดความดันในหลอดเลือดแดงที่ไปปอด จะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 25/10 มม.ปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 25 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 10 มม.ปรอท นั่นเอง

2. หัวใจ ห้องล่างซ้าย โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่ Aorta และกระจายไปตามหลอดเลือดแดงไปสู่อวัยวะสำคัญต่างๆ รวมถึงแขนและขา ซึ่งโลหิตจะมีแรงกระทำต่อผนังเส้นเลือด

เมื่อเวลาวัดความดันที่หลอดเลือดแดงที่แขนหรือขาจะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120/80 มม.ปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 120 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 80 มม.ปรอท นั่นเอง

เมื่อหัวใจบีบตัว Systolic แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดง จะมีแรงดันน้อยกว่าแรงที่หัวใจบีบตัวเล็กน้อย ก็เนื่องจาก หลอดเลือดแดงจะมีความยืดหยุ่น Elasticity ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวออกได้เล็กน้อย แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงจึงต่ำลง

เมื่อหัวใจคลายตัว Diastolic แรงดันโลหิตในหัวใจห้องล่างจะลดลงเป็น ศูนย์ มม.ปรอท หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดง จะไม่ลงลงเป็น ศูนย์ มม.ปรอท เนื่องจากหัวใจ มีลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่าง และหลอดเลือดแดง ลิ้นหัวใจจะทำหน้าที่เป็นประตูเปิด-ปิด ให้เลือดไหลได้ไปในทิศทางเดียว ไม่สามารถไหลย้อนกลับได้ เมื่อหัวใจห้องล่างคลายตัว ลิ้นหัวใจก็จะปิดลง ทำให้เลือดยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือดแดง ไม่ไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงยังมีแรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงในช่วงหัวใจห้องล่างคลายตัวได้ นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวออกในช่วงหัวใจบีบตัว ก็จะมีแรงจากหลอดเลือดแดงบีบตัวในช่วงแรงดันโลหิตลดลงนี้ Diastolic vascular recoil

ดังจะสังเกตได้ว่า คนที่มีอายุน้อย หลอดเลือดยังมีความยืดหยุ่นอยู่มาก ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้ต่ำ และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้สูง เช่น วัดได้ 100/80 มม.ปรอท ในขณะที่ คนที่มีอายุมาก หลอดเลือดมักจะแข็ง และมีความยืดหยุ่นน้อยลง ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้สูง และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้ต่ำ เช่น วัดได้ 140/60 มม.ปรอท

 

ลักษณะทั่วไป ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรง ลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดัน (Sphygmomano meter) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคน ๆ เดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิต และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยการวัดในท่านั่ง วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย) ดังนี้

ความดันช่วงบน

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท (ทอรร์) ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มม.ปรอท ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159 มม.ปรอท ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป

ความดันช่วงล่าง

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป

ความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (Diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ ก็ได้ บางคนอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (Isolated systolic hypertension) ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุ, โรคคอพอกเป็นพิษ, ภาวะหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัน เราจะวินิจฉัยโรคนี้แน่นอน ต่อเมื่อวัดความดันแต่ละคราว อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป หาค่าเฉลี่ยของความดัน และนัดมา วัดซ้ำอีกอย่างน้อย 1-2 คราวภายใน 1 สัปดาห์ แล้วยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยความดันสูงกว่าปกติ ในการวัดแต่ละคราว ควรให้ ผู้ป่วยนั่งพักสัก 5-10 นาทีเสียก่อนโรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 5-10% ของคนทั่วไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในคน ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนน้อยที่อาจพบในคนอายุน้อย ซึ่งมักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

สาเหตุ

ส่วนใหญ่ (กว่า90%) ไม่ทราบสาเหตุ คือ ตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของความดันสูง เรียกว่า "ความดันสูงไม่ทราบสาเหตุ" (Essential hypertension หรือ Primary hypertension) แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่า ปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคนี้ จะมีโอกาส เป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน อารมณ์เครียด การกิน อาหารเค็มจัด และการดื่มเหล้าจัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของโรคนี้ ผู้ป่วยพวกนี้ จะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี เริ่มพบ มากในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น ส่วนน้อย (ต่ำกว่า 10% ) อาจตรวจพบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าพบในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี หรือเริ่มมีความดันสูง เมื่ออายุมากกว่า 55 ปี เรียกว่า "ความดันสูงชนิดมีสาเหตุ" (Secondary hypertension)สาเหตุที่อาจพบได้มีหลายอย่าง เช่น

ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน), สเตอรอยด์ , ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์, ยาแก้คัดจมูก (decongestant) และยาแก้หวัดที่เข้ายาแก้คัดจมูก, ยาลดความอ้วน, อะดรีนาลิน , ทีโอฟิลลีน, ยาฮอร์โมนไทรอยด์, ยาแก้ซึมเศร้าชนิด ไตรไซคลิก เป็นต้น ความดันสูงในหญิงตั้งครรภ์ โรคไต เช่น หน่วยไตอักเสบ , กรวยไตอักเสบเรื้อรัง , ไตวายเรื้อรัง, หลอดเลือดเลี้ยงไตตีบตัว (Renal artery stenosis) ซึ่งมักได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่หน้าท้อง, วัณโรคของไต, เนื้องอกของไต เป็นต้น หลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัว (Coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic insufficiency) ซึ่งมักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว ส่วนความดันช่วงล่างเป็นปกติ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ มักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว, โรคคุชชิง , เนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดที่เรียกว่า ฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม น้ำหนักลดร่วมด้วย) เป็นต้น อื่น ๆ เช่น ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ, ตะกั่วเป็นพิษ, ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น

ในผู้สูงอายุ มักมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) เรียกว่า "ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ" ความดันโลหิตอาจสูงได้ชั่วคราว เมื่อมีภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ ซีด ออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด (เช่น โกรธ ตื่นเต้น) เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรักษา จะหายไปได้เองเมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป


อาการ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด ซึ่งมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น ส่วนน้อย อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเองบางคนอาจ มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน ได้ ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็ อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น

อาการแทรกซ้อน ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันสูงอยู่นาน ๆ มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม (เกิด ภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็ง) หลอดเลือดตีบตัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบตัน กลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงถึงกับเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย สมอง อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตกกลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ในรายที่มีเส้นโลหิตฝอยในสมองส่วนสำคัญแตก ก็อาจตายได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นเรื้อรัง บางคนอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง ในรายที่มีความดันสูงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เกิดอาการชัก หรือหมดสติได้ ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงเสื่อม เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตที่วายจะยิ่งทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย การ ตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว จะยิ่งทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย การ ตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว(albumin) ตั้งแต่ 2+ ขึ้นไป การเจาะเลือดทดสอบการทำงานของไต จะพบระดับของสารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง ตา จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบตัน ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่จอตา (เรตินา) ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ ซึ่งสามารถใช้เครื่องส่องตา (ophthalmoscope) ตรวจดูความผิดปกติภายในลูกตา ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นรุนแรงหรือรวดเร็วเพียงใด ขึ้นกับความรุนแรงและระยะของโรคถ้าความดันมีขนาดสูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รวดเร็ว และผู้ป่วยอาจตายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี (ถ้ารุนแรงมากอาจตายภายใน 6-8 เดือน) ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย หากปล่อยไว้ ไม่รักษา อาจใช้เวลา 7-10 ปีในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง) หรือสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น จึงควรควบคุมโรคหรือพฤติกรรมเหล่านี้


การรักษา

สำหรับความดันโลหิตสูงเล็กน้อย (ความดันช่วงบน 130-159 มม.ปรอท หรือความดันช่วงล่าง 85-99 มม.ปรอท) ให้นัดมาวัดซ้ำอีกอย่างน้อย 2 คราวใน 4 สัปดาห์ ถ้าความดันต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ให้นัดมาตรวจทุก 6 เดือน เป็นเวลา 1 ปี ถ้าความดันช่วงบน 130-159 หรือช่วงล่าง 85-99 ให้แนะนำการปฏิบัติตัวในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก, ลดกินอาหารเค็ม,งดบุหรี่และเหล้า,ออกกำลังกาย, ผ่อนคลายความเครียด ถ้าเป็นไปได้ ควรทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นตรวจปัสสาวะ, ตรวจเลือด (หาระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, กรดยูริก, ครีอะตินีน, โพแทสเซียม, ระดับความเข้มข้นของเลือด หรือฮีมาโตคริต) และคลื่นหัวใจ (ECG) เพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนเร้น และเป็นพื้นฐานสำหรับการติดตามผลในระยะยาวหลังจากติดตามวัดความดัน 2-3 คราวในช่วง 3 เดือนต่อมา ถ้าหากวัดได้ค่าความดันในระดับต่าง ๆ ควรให้การดูแลรักษาดังนี้

ไความดันช่วงบน 130-139 หรือช่วงล่าง 85-89 ให้แนะนำการปฏิบัติตัว โดยยังไม่ต้องให้ยารักษาควรติดตามวัดความดันในอีก 3 เดือนต่อมา ถ้าพบว่าความดันช่วงบน 140-159 หรือช่วงล่าง 90-99 ควรเริ่มให้ยารักษา ถ้าได้ค่าต่ำกว่านี้ ยังไม่ต้องให้ยารักษา แต่ควรติดตามทุก 3-6 เดือน ความดันช่วงบน 140-159 หรือช่วงล่าง 90-99 แนะนำการปฏิบัติตัว จะเริ่มให้ยาเฉพาะในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน หัวใจห้องล่างซ้ายโต โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น)ในรายที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงให้ติดตามวัดความดันในอีก 3 เดือนต่อมา ถ้าความดันยังอยู่ในช่วงดังกล่าวก็ควรเริ่มให้ยารักษา ความดันช่วงบน 160-209 หรือช่วงล่าง 100-119 ควรเริ่มให้ยารักษา

สำหรับผู้ป่วยที่วัดได้ความดันช่วงบน 160-209 มม.ปรอท หรือช่วงล่าง 100-119 มม.ปรอทตั้งแต่แรก ซึ่งถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระดับปานกลางและรุนแรง ควรส่งตรวจเลือด ปัสสาวะคลื่นหัวใจ แนะนำการปฏิบัติตัว และให้ยารักษา การให้ยารักษาความดัน ควรเริ่มจากไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ 12.5-25 มก. วันละครั้ง ตอนเช้าให้ความดันลดต่ำกว่า 140 (ช่วงบน) และ 90 (ช่วงล่าง) ถ้าไม่ได้ผล เพิ่มเป็นวันละ 50 มก. หรือเริ่มต้นด้วยกลุ่มยาปิดกั้นบีตา เช่น โพรพราโนลอล, อะทีโนลอล ถ้าไม่ได้ผล อาจหันไปใช้ยาต้านแคลเซียม หรือยาต้านเอซ แทน ในกรณีที่ใช้ยาเดี่ยวไม่ได้ผล อาจให้ยา 2-3 ชนิดร่วมกัน ดังนี้

ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ร่วมกับ ยาปิดกั้นบีตา หรือรีเซอร์พีน หรือ ยาต้านแคลเซียม หรือยาต้านเอซ ยาต้านแคลเซียม ร่วมกับยาต้านเอซ ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ร่วมกับยาต้านแคลเซียมร่วมกับยาปิดกั้นบีตา(หรือยาต้าน เอซ) ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ร่วมกับยาต้านเอซ ร่วมกับยาปิดกั้นบีตา ยาปิดกั้นบีตา ร่วมกับยาต้านแคลเซียม ร่วมกับยาต้านเอซ

สำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันช่วงบนสูงเพียง อย่างเดียว (ความดันช่วงบนตั้งแต่ 160 มม.ปรอทขึ้นไปและช่วงล่างต่ำกว่า 90) ควรให้ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ หรือยาปิดกั้นบีตา (สำหรับไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ควรให้ขนาดไม่เกินวันละ 12.5 มก.) ควรส่งผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อรักษาไม่ได้ผล, หรือเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป หรือช่วงล่างตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป (ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงมาก), หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ สมอง ไต หรือตาเกิดขึ้น, หรือพบความดันสูงในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี อาจต้องตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุ และภาวะแทรกซ้อน


การป้องกัน ระวังอย่าให้อ้วน, อย่ากินอาหารเค็มจัด, อย่าดื่มเหล้าจัด, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หาวิธีผ่อนคลายความเครียด

ไม่มีรายการสินค้าอยู่ในหมวดสินค้านี้