ปวดกระดูก สัญญาณเตือน "โรคข้อเสื่อม" | PG&P THAI

19-12-2012 23:09:55
(0) ที่ชื่นชอบ
   
(2961) เปิดดู

ปวดกระดูก สัญญาณเตือน "โรคข้อเสื่อม"

กระดูกและข้อ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของร่างกายที่ไม่อาจละเลยได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นข้อต่อของกระดูกก็เสื่อมลง ทำให้เกิด "โรคข้อเสื่อม" ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างยิ่ง และมักจะเกิดขึ้นบ่อยในข้อต่อที่จะต้องรับน้ำหนัก เช่น เข่า สะโพก ข้อศอก โรคนี้ทำให้กระดูกอ่อนซึ่งหุ้มปลายของกระดูกแต่ละชิ้นในข้อต่อนั้นค่อย ๆ เสื่อมสลายไปอย่างช้า ๆ        

การทำงานของกระดูกและข้อ กระดูกจะมีข้อต่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงเป็นตัวรองรับแรงกดกระแทก ไม่ให้กระดูกกระแทกกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงเหล่านี้ก็จะสึกหรอไปตามเวลา ทำให้กระดูกกระแทกกัน จึงมีอาการปวด บางรายอาจไม่ปวดแต่ก็มีกระดูกขาที่ผิดรูป เช่น ขาโก่ง ทำให้เดินไม่สะดวก

โรคข้อเสื่อม เป็นการเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งทุกคนจะมีโอกาสเป็นเมื่ออายุมากขึ้น หรือเสื่อมเร็วเนื่องจากใช้งานหนักได้ เช่น ยกของหนัก ๆ เป็นประจำ ข้อแขน ไหล่และศอกก็จะเสื่อมเร็ว และที่สำคัญ คือ น้ำหนักตัวที่ข้อเข่าต้องรับแรงที่มากกว่าคนปกติ ก็เป็นการเร่งใหเสื่อมเร็วขึ้น, รวมทั้งกิจวัตรประจำวันต่างๆ ท่านั่ง ท่านอน ท่าวิ่ง การออกกกำลังกายที่มากไป ล้วนเป็นสิ่งที่เร่งให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้นได้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ข้อเสื่อม เช่น อุบัติเหตุ หกล้ม หรือเคยกระดูกหักใส่เหล็ก เป็นต้น ซึ่งบริเวณข้อเสื่อมที่มักจะพบเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นบริเวณข้อไหล่ ข้อเข่า และสะโพก

อาการข้อเสื่อม

สังเกตว่ามีเสียงของกระดูกกระทบ กัน คล้ายเสียงกระดาษทรายขูด หรือไม่ หรืออาจมีอาการปวดร่วมด้วย หรือไม่ปวดก็ได้ความเจ็บปวดถือเป็นอาการแรกและชัดเจนที่สุดของโรคข้อเสื่อม จะเริ่มปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะไม่สามารถก้มหรือลุกขึ้นได้อย่างปกติ การเคลื่อนที่ที่ไม่สะดวกเช่นนี้ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมบริเวรข้อต่อที่ ได้รับผลกระทบนั้นอ่อนแอลงและสภาพร่างกายโดยรวมจะประสบกับความตึงและเหนื่อย ล้า

ผู้ป่วยจะมีอากาปวดที่ข้อกระดูกด้านใน แต่ก็มีบางรายที่ไม่มีอาการปวด ซึ่งแพทย์มักใช้การเอกซเรย์ในการวิเคราะห์โรค เนื่องจากอาการปวดข้อกระดูกนั้น อาจมาจากสาเหตุของโรคอื่น เช่น เกาต์ ข้อกระดูกอักเสบ ติดเชื้อในข้อกระดูก รูมาตอยด์ เป็นต้น

หากเริ่มมีอาการปวดที่ข้อกระดูก ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เขียนข้อคิดเห็น:

ชื่อ :

Email :

ข้อคิดเห็น :

รหัสป้องกันสแปม :


เพิ่มข้อคิดเห็น