ภัยเงียบ "โลหิตจาง" เตือนอันตรายถึงชีวิต | PG&P THAI

19-12-2012 23:08:35
(0) ที่ชื่นชอบ
   
(2998) เปิดดู

หากพบว่าร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เยื่อบุตา หรือริมฝีปากซีด ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะการปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โลหิตจาง หรือ ภาวะซีด หมายถึง การที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลงหรือระดับความเข้มข้นของเลือดลดลง ปัญหาโลหิตจางในประเทศไทยที่พบบ่อย ได้แก่ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เช่น ไม่รับประทานอาหารโปรตีน ตับ เลือดหมู นม ไข่ ผักใบเขียว และธัญพืช หรือมีการเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิปากขอ ภาวะเลือดออกเรื้อรังในทางเดินอาหาร ริดสี ดวงทวาร หรือสูญเสียเลือดมากผิดปกติทางประจำเดือน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาด ไทย ระบุข้อมูลการจัดหาโลหิต ปีงบประมาณ 2555 พบว่ามีผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิต 693,262 คน แต่ไม่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ 96,146 คน หรือ ร้อยละ 13.9 ส่วนใหญ่มีระดับความเข้มข้นโลหิต หรือระดับฮีโมโกลบินไม่ผ่านเกณฑ์

ส่วนโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร โดยได้รับความผิดปกติทางพันธุกรรมมาจากทั้งฝ่าย พ่อและแม่ ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่เป็นโรค แต่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมแฝงอยู่และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

ในบ้านเราพบว่ามีคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ พาหะของโรคโดยไม่แสดงอาการประมาณ 20 ล้านคน ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้ มีประมาณ 1 ใน 100 ของประชากร ผู้ป่วยจะมีอาการซีด เหลือง ในรายที่เป็นชนิดรุนแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า การเจริญเติบโตช้าและมีตับม้ามโตร่วมด้วย

แนวทางการรักษาควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีโปรตีนสูง ผักสดต่างๆ ที่มี โฟเลตมากๆ เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดง ในรายที่อาการรุนแรงต้องได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย ก็จะต้องให้ยาขับธาตุเหล็ก ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายขาดโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต พ่อแม่ที่มีลูกเป็นธาลัสซีเมียควรคุมกำเนิดหรือผู้ที่มีประวัติว่ามีญาติพี่ น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4

ภาวะพร่องจีซิกพีดี เอนไซม์ จี-6-พีดี (G-6-PD) เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดเอนไซม์ชนิดนี้ จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย สาเหตุมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยจะมีอาการซีดลงหลังภาวะติดเชื้อ หรือได้รับยาบางชนิด นอกจากนี้ยังพบภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อได้

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เขียนข้อคิดเห็น:

ชื่อ :

Email :

ข้อคิดเห็น :

รหัสป้องกันสแปม :


เพิ่มข้อคิดเห็น